ศูนย์กุมารเวชกรรม

ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกรุงไทย

การเจริญเติบโตที่แข็งแรงและพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อย ถือเป็นเรื่องสำคัญของคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว การดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจให้สมบูรณ์ในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ๆ จึงต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ 

ศูนย์กุมารเวชกรรมของโรงพยาบาลกรุงไทยตระหนักและเตรียมความพร้อม ทั้งทีมแพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย และสถานที่กว้างขวางพร้อมของเล่นเสริมพัฒนาการ แยกโซนเด็กสุขภาพดี (well baby) กับเด็กป่วยทั่วไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ปกครองในการใช้บริการ และมีการจัดโซนของเล่นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่นเพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ ผ่อนคลายและมีกิจกรรมเล่นระหว่างรอตรวจ และไม่กลัวการมาตรวจที่โรงพยาบาล และมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ทุกคนมีความสุข มีรอยยิ้ม และความปลอดภัยกลับไปใช้ชีวิตด้วยสุขภาพแข็งแรง พัฒนาการดีสมวัย

กุมารเวช คืออะไร?

กุมารเวช หรือกุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาแพทยศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทารก ตั้งแต่แรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นจนถึงอายุประมาณ 15 ปี ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ถือเป็นสาขาเฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งกุมารแพทย์ ต้องผ่านการสอบและได้รับหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ที่ออกให้โดยแพทยสภา

กุมารเวชคือ

จุดเด่นของเรา

ศูนย์กุมารเวชกรรมโรงพยาบาลกรุงไทย ให้บริการตรวจรักษาด้วยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรที่มีความชำนาญและเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย  

นอกจากนี้ศูนย์กุมารเวชกรรมยังใส่ใจเรื่องสถานที่ให้บริการที่เหมาะสมกับเด็ก ให้ไม่อึดอัดหรือหวาดกลัวการมาโรงพยาบาล มีการแบ่งแยกโซนเด็กสุขภาพดีและเด็กป่วยทั่วไปเพื่อไม่ให้ปะปนกันและลดการแพร่กระจายเชื้อโรค มีห้องสำหรับเด็กอ่อนเพื่อให้คุณแม่ได้ให้นมและให้เด็กได้พักในที่สงบและเป็นส่วนตัว และมีหอผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิด (NICU) ไว้รองรับกรณีวิกฤติหลังการคลอดเพื่อความปลอดภัยสูงสุด

อาการผิดปกติของเด็กที่ควรพามาพบแพทย์

  1. มีอาการไข้ คือ วัดอุณหภูมิร่างกายได้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส และไม่ลดลงเมื่อได้รับยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวระบายความร้อนแล้ว ติดต่อกันเกิน 48 – 72 ชั่วโมง
  2. อาการไอ มีเสียงก้อง พูดหรือร้องมีเสียงแหบร่วมด้วย
  3. มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว โดยดูจากอัตราการหายใจ จากการนับการขยายบริเวณหน้าอกของเด็ก โดยให้นับทุก ๆ การขยายตัวของหน้าอก นับเป็น 1 ครั้ง จนครบเวลา 1 นาที โดยควรพาเด็กมาโรงพยาบาลเมื่อมีอัตราการหายใจเกินค่าดังต่อไปนี้
    เด็กอายุ 0 – 12 เดือน ที่มีอัตราการหายใจมากกว่า60 ครั้ง/นาที (ค่าปกติ 30 – 60 ครั้ง/นาที)
    เด็กอายุ 1 – 3 ปี ที่มีอัตราการหายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที (ค่าปกติ 24 – 40 ครั้ง/นาที)
    เด็กอายุ 4 – 5 ปี ที่มีอัตราการหายใจมากกว่า 34  ครั้ง/นาที (ค่าปกติ 22 – 34 ครั้ง/นาที)
    เด็กอายุ 6 – 12 ปี ที่มีอัตราการหายใจมากกว่า 30 ครั้ง/นาที (ค่าปกติ 18 – 30 ครั้ง/นาที)
    เด็กอายุ 13 ปี ขึ้นไป ที่มีอัตราการหายใจมากกว่า 16 ครั้ง/นาที (ค่าปกติ 12 – 16 ครั้ง/นาที ซึ่งจะใกล้เคียงกับอัตราการหายใจของผู้ใหญ่)
  4. มีอาการอาเจียน หรือถ่ายเหลวติดต่อกัน อาจเกิดภาวะขาดน้ำในเด็กได้ สังเกตริมฝีปากที่แห้งร่วมด้วย
  5. อาการซึม ตอบสนองช้ากว่าปกติโดยไม่มีสาเหตุอื่นนำมาก่อน

บริการของเรา

  • การตรวจรักษาโรคเด็กทั่วไป
  • การตรวจประเมิน วิเคราะห์โรค รักษาและฟื้นฟูสุขภาพเด็ก
  • การตรวจสุขภาพเด็กและโรคเฉพาะทาง
  • ห้องเด็กอ่อน
  • การฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด ถึง 4 ปี
  • การฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ฮิบ (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ บี (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนเอชพีวี ป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (สำหรับเด็ก)
  • การวัคซีนโรต้า (สำหรับเด็ก)
  • วัคซีนอีสุกอีใส (สำหรับเด็ก)
  • หน่วยดูแลทารกแรกเกิดในภาวะวิกฤติ (NICU) **เฉพาะสาขาเวสเทิร์น**
บริเวรของศูนย์กุมารเวช

ทีมแพทย์และบุคลากร

ศูนย์กุมารเวชกรรมให้บริการโดยทีมกุมารแพทย์ พยาบาลที่มีความชำนาญ และเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก สถานที่ในการให้บริการกว้างขวาง มีพื้นที่เด็กเล่นให้บริการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมการเล่นขณะรอตรวจ รวมทั้งมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ยาและวัคซีนที่มีคุณภาพ

ข้อมูลสาขาศูนย์กุมารเวชกรรมโรงพยาบาลกรุงไทย

สถานที่และเวลาให้บริการ

โรงพยาบาลกรุงไทยเวสเทิร์น ชั้น 2
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น.
วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น.
ติดต่อนัดหมาย สอบถามรายละเอียด โทร 02-822-9797
มีกุมารแพทย์รับปรึกษา (consulting) ตลอด 24 ชั่วโมง

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรค RSV

RSV เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ จากเชื้อไวรัส respiratory syncytial virus พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงในเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่จำเพาะต่อเชื้อ RSV ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีการป้องกันโรค RSV ที่ดีที่สุด

ไข้หวัดใหญ่หรือโควิด-19

ไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ มีลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกัน ความรุนแรงของโรคอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การรู้จักและแยกความแตกต่างของทั้ง 2 โรคจะช่วยให้การรักษาเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

Meta description: ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรง บางชนิดทำให้เสียชีวิตได้ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น หน้ามืด วูบ หมดสติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ หากปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิต

โรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ ปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับต้านไวรัสโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นรักษาตามอาการ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงหากมีการติดเชื้อ

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก (hand, foot, and mouth disease; HFMD) เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส enterovirus พบมากในเด็กเล็กและอาจมีอาการรุนแรงในอายุน้อยกว่า 5 ปี การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาตามอาการ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อ และการให้เด็กรับวัคซีนโรคมือเท้าปาก ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการป่วยและอาการแทรกซ้อนที่อันตรายต่าง ๆ

อาการแบบไหนเสี่ยงไตวาย

ไตวายเกิดจากการที่ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้มีของเสียคั่งในร่างกาย เกิดอาการแขน ขาบวม และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยไตวายต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไตเพื่อทดแทนการทำงานของไตที่เสียไป การดูแลสุขภาพ และการตรวจสุขภาพจะช่วยป้องกันภาวะไตวายได้